สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร (อังกฤษ: Naresuan University; อักษรย่อ: มน. – NU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ก่อนที่จะแยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อปี พ.ศ. 2533 มาเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยชื่อ "นเรศวร" นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก และทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกมาก่อน มหาวิทยาลัยนเรศวรนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของภาคเหนือ ถัดจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 17 ของประเทศไทย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 56 ปีปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย[6] โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 184 หลักสูตร[7] มีจำนวนนิสิตประมาณ 25,000 คน[8] และมีอาจารย์ประจำกว่า 1,500 คน[4]

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

ชื่อย่อ มน.[1] / NU
เว็บไซต์ www.nu.ac.th
ประเภท สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533; 33 ปีก่อน (2533-07-29)
นายกสภาฯ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
งบประมาณ 4,963,409,800 บาท
(ปีการศึกษา 2564)[2][3]
สี ███ สีเทา
███ สีแสด
มาสคอต ช้างศึก
คติพจน์ มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ
ชื่อเดิม วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก
(พ.ศ. 2510–2517)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก
(พ.ศ. 2517–2533)
เพลง มาร์ชมหาวิทยาลัยนเรศวร
อธิการบดี รศ.ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี (รักษาการ)
เจ้าหน้าที่ 3,447 (ปีการศึกษา 2564) [4]
ที่ตั้ง
ผู้ศึกษา 24,846 คน[5] (ปีกรศึกษา 2563)
อาจารย์ 1,485 (ปีการศึกษา 2564) [4]
ต้นไม้ เสลา